ประกันอุบัติเหตุ | อลิอันซ์ อยุธยา ประกันภัย

ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล

ประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

การประกันภัยอุบัติเหตุมีกี่แบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

การประกันภัยอุบัติเหตุแบ่งออกเป็น 3 กรมธรรม์ ได้แก่

  • กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ใช้สำหรับการประกันภัยเฉพาะบุคคลคนเดียวเท่านั้น
  • กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ใช้สำหรับกลุ่มบุคคล ที่มีการรวมตัวกันไว้ก่อนแล้ว เช่น กลุ่มพนักงานของบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ
  • กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ใช้สำหรับนักเรียน นักศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเป็นผู้จัดทำ

การประกันภัยอุบัติเหตุ (อบ.) มีแบบความคุ้มครองให้เลือกอย่างไร

สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และอุบัติเหตุกลุ่มเท่านั้น จะมีแบบให้เลือก 2 แบบ

  • แบบ อบ. 1
    1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
    2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
    3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และ
    4. การรักษาพยาบาลแบบ อบ. 1 มีความคุ้มครองให้เลือกซื้อ 4 ความคุ้มครอง ได้แก่
  • แบบ อบ. 2
    1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง การทุพพลภาพถาวร
    2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
    3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และ
    4. การรักษาพยาบาล

สำหรับในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษานั้น จะมีเฉพาะแบบ อบ. 1 เท่านั้น

การประกันอุบัติเหตุ โดยปกติแล้วจะให้ความคุ้มครองรวมถึงการถูกฆ่า หรือ ถูกทำร้ายร่างกายด้วย ไม่ว่าการถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายจะเป็นโดยเจตนา หรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตามหากผู้เอาประกันภัยเห็นว่าคงไม่มีความเสี่ยงภัยในการถูกฆ่า ถูกทำร้ายร่างกาย ก็สามารถที่จะไม่เอาประกันภัยในส่วนนี้ได้ โดยปู้เอาประกันภัยก็จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย

ข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์มีอะไรบ้าง

การประกันภัยอุบัติเหตุ จะมุ่งให้ความคุ้มครองที่เป็นความเสี่ยงภัยพื้นฐานของคนโดยทั่วไป ดังนั้นจึงมีการกำหนดข้อยกเว้นในกรมธรรม์ที่จะไม่คุ้มครองในเหตุการณ์บางอย่าง เช่น

  1. การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุราหรือยาเสพติด
  2. การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
  3. การแท้งลูก
  4. สงคราม การปฏิบัติ การกบฎ
  5. การจลาจล การนัดหยุดงาน การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
  6. การแผ่รังสีหรือกัมมันตภาพรัลสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ อาวุธนิวเคลียร์
  7. การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย เช่น การดำน้ำ การเล่นบันจี้จั๊มพ์ เล่นสกี การแข่งรถ แข่งเรือ แข่งสเก็ต เป็นต้น
  8. ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
  9. ขณะที่โดยสารอยู่ในเครื่องบินที่มิใช่สายการบินพาณิชย์ เช่น เฮลิคอปเตอร์
  10. ขณะที่เข้าร่วมการทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม หรือหลบหนีการจับกุม
  11. ขณะที่เข้าปราบปรามหรือปฏิบัติการทางสงครามหากผู้เอาประกันภัยเป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร

ข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์เปลี่ยนเปลงได้หรือไม่

หากผู้เอาประกันภัยต้องการให้ได้รับความคุ้มครองในเหตุการณ์ที่ระบุไว้ในข้อยกเว้นก็สามารถที่จะจ่ายเบี้ยประกัน เพิ่มเติมเพื่อขอขยายความคุ้มครองได้ แต่ทั้งนี้การขอขยายความคุ้มครองนั้นสามารถทำได้เพียง 5 กรณีเท่านั้น ได้แก่

  1. การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
  2. การจลาจล การนัดหยุดงาน
  3. การสงคราม
  4. การโดยสารอากาศยานที่มิได้ประกอบการโดยสายการบินพาณิชย์
  5. การเล่นเหรือแข่งกีฬาอันตราย

ค่าเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง

เบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้

  • กลุ่มคน การทำประกันภัยแบบกลุ่มจะถูกกว่าการทำประกันภัยรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกลุ่มคนมีจำนวนมากเบี้ยประกันภัยจะยิ่งลดลง
  • อาชีพ การแบ่งชั้นอาชีพในการรับประกันภัยจะแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่ อาชีพชั้น 1 ส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน อาชีพชั้น 2 ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา อาชีพชั้น 3 ปฏิบัติงานด้านช่าง กระบวนการผลิต ที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ใช้แรงงาน การเดินทาง หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ อาชีพชั้น 4 อาชีพพิเศษที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ เช่น นักแสดงผาดโผน ในการแบ่งชั้นอาชีพดังที่กล่าวมาแล้ว อาชีพชั้น 1 จะเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยต่ำที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะต่ำกว่าอาชีพชั้นอื่น ๆ ในขณะที่อาชีพชั้น 4 เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยสูงที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ
  • อายุ คนที่อายุเกินกว่า 60 ปี เบี้ยประกันภัยจะสูงกว่าคนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี
  • ความคุ้มครองที่เลือกซื้อ ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเฉพาะบางอย่างก็ได้ เช่น ต้องการเพียงการเสียชีวิตสูญเสียอวัยวะ และ ทุพพลภาพ โดยไม่เอาความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเบี้ยประกันภัยก็จะแปรตามความคุ้มครองที่ต้องการ
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติม ผู้เอาประกันภัยต้องการขยายความคุ้มครองไปถึงภัยที่มีการยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย ได้แก่ การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย การโดยสารเฮลิคอปเตอร์ หรือจลาจล/นัดหยุดงาน สงคราม ด้วยแล้ว เบี้ยประกันภัยก็จะเพิ่มสูงขึ้น
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนด เบี้ยประกันภัยจะผันแปรตามจำนวนเงินเอาประกันภัยด้วย ดังนั้น ในกรณีการซื้อผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล ต้องกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ให้เหมาะสม หากซื้อไว้มากเกินความจำเป็นก็จะเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยโดยไม่จำเป็น
  • การกำหนดจำนวนความรับผิดส่วนแรก หากผู้เอาประกันภัยยินยอมรับความเสียหายส่วนแรกเองบางส่วนในกรณีของค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันก็จะต่ำลง หากผู้เอาประกันภัยยินยอมให้บริษัทงดจ่ายผลประโยชน์กรณีการทุพพลภาพชั่วคราวในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เบี้ยประกันภัยก็จะต่ำลง

หากเกิดภัยขึ้นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ผู้เอาประกันภัยควรปฏิบัติเช่นไร จึงจะมีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

เมื่อผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบโดยทันที และนำหลักฐานอาทิเช่น ใบเสร็จแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล รายงานของแพทย์ ใบแจ้งความ ใบมรณะบัตร เป็นต้น ส่งมอบให้บริษัทประกันภัย

แผนประกัน เซฟ เซฟ

ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล  

จุดเด่น

  • คุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จากอุบัติเหตุทั่วไป จากการถูกฆาตกรรม หรือถูกทำร้ายร่างกาย จากการก่อการร้าย อุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์
  • การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วันตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย)
  • ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพ กรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย

แผนประกันภัย

ข้อตกลงคุ้มครอง แผนที่ 1 แผนที่ 2
1. การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง จาก
• อุบัติเหตุทั่วไป 300,000 200,000
• การถูกฆาตกรรม หรือถูกทำร้ายร่างกาย 150,000 100,000
• การก่อการร้าย 100,000 100,000
• อุบัติเหตุขณะขับขี่ หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 150,000 100,000
2. การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัว ในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ ต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 30 วันตลอดระยะเวลาเอาประกันภัย) 300
3. ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจาก การบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วย 10,000
เบี้ยประกันภัยรวม 399 599

**หมายเหตุ : หากผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยภายในระยะเวลา 120 วันจากวันที่กรมธรรม์ประกันภัยนี้เริ่มมีผลบังคับครั้งแรก จะไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพตามข้อตกลงคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพกรณีเสียชีวิตจากการเจ็บป่วย แต่บริษัทจะคืนค่าเบี้ยประกันภัยในส่วนของข้อตกลงคุ้มครองนี้ทั้งหมดให้แก่ผู้รับประโยชน์  

เงื่อนไขการรับประกันภัย

  • ผู้มีสัญชาติไทยอายุตั้งแต่ 15-60 ปี
  • สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีส่วนใดพิการ บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ณ วันที่ขอเอาประกันภัย
  • บริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการรับประกันภัย 1 ท่านต่อ 1 กรมธรรม์เท่านั้น

ข้อยกเว้น

  • การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา (มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป) สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษจนไม่สามารถครองสติได้
  • การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
  • การได้รับเชื้อโรค ปรสิต เว้นแต่การติดเชื้อโรค หรือบาดทะยัก หรือโรคกลัวน้ำ ซึ่งเกิดจากบาดแผลที่ได้รับมาจากอุบัติเหตุ
  • การแท้งลูก
  • การรักษาฟันหรือการรักษารากฟัน เว้นแต่การรักษาที่ได้เกิดขึ้นภายใน 7 วันนับจากวันเกิดอุบัติเหตุ
  • การเปลี่ยนหรือใส่ฟันปลอม การครอบฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์
  • อาหารเป็นพิษ
  • การปวดหลังอันมีสาเหตุมาจาก หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Disc herniation) กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc disease) กระดูกสันหลังเสื่อม(Spondylosis) และภาวะที่มีรอยแตก (Defect) หรือพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังส่วน Pars interarticularis (Spondylolysis) เว้นแต่มีการแตกหัก (Fracture) หรือเคลื่อน (Dislocation) ของกระดูกสันหลังอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
  • สงครามฯ
  • การแผ่รังสี หรือการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือจากกากนิวเคลียร์ใดๆ
  • ขณะที่ผู้เอาประกันภัยเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท
  • ขณะที่ผู้เอาประกันภัยก่ออาชญากรรมที่มีความผิดสถานหนัก หรือขณะถูกจับกุม หรือหลบหนีการจับกุม
  • ขณะที่ผู้เอาประกันภัยปฏิบัติหน้าที่เป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร และเข้าปฏิบัติการในสงคราม หรือปราบปราม

หมายเหตุ

  • ต้องตอบคำถามสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย
  • การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย

คำเตือน

  • ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง
  • เงื่อนไขการรับประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด

แผนประกัน เพอร์เฟค

ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล  

จุดเด่น

  • ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากสาเหตุต่างๆ ที่ครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน สูงสุด 6 ล้านบาท
  • ชดเชยค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุสูงสุด 150,000 บาท
  • ได้รับค่าชดเชยรายได้ระหว่างเข้ารับรักษาตัวในโรงพยาบาลสูงสุดวันละ 2,000 บาท
  • ให้ความคุ้มครองตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก
  • ไม่ต้องตรวจสุขภาพ

คุณสมบัติของผู้เอาประกันภัย

  • มีอายุตั้งแต่ 20-60 ปีบริบูรณ์ สามารถต่ออายุได้ถึงอายุ 65 ปีบริบูรณ์ (ตามเงื่อนไขของบริษัทฯ)
  • สัญชาติไทย
  • มีสุขภาพแข็งแรง ไม่มีอวัยวะส่วนใดบกพร่องหรือพิการ ณ วันที่ขอเอาประกันภัย ไม่ได้ประกอบอาชีพ คนขับรถรับจ้าง คนขับรถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง พนักงานดับเพลิง กรรมกร คนงานก่อสร้าง นักบิน ลูกเรือ ชาวประมง ยาม ตำรวจ ทหาร อาสาสมัครดูแลความปลอดภัย คนทำงานในเหมือง หรือในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับวัตถุระเบิด ประทัด ดอกไม้เพลิง
  • ชั้นอาชีพขั้นที่ 1, 2 หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพด้านการบริหาร หรือด้านการจัดการ ซึ่งทำงานประจำในสำนักงาน หรือทำงานนอกสำนักงานเป็น ครั้งคราว
  • ชั้นอาชีพขั้นที่ 3 หมายถึง ผู้ประกอบอาชีพในด้านช่าง หรือกระบวนการผลิต หรือการบริการ ซึ่งส่วนใหญ่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก หรือเป็นผู้ใช้แรงงาน หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ
 

แผนประกันภัย

ความคุ้มครอง แผนที่1 แผนที่ 2 แผนที่ 3 แผนที่ 4 แผนที่ 5
1. ผลประโยชน์การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง (อ.บ.1)
- อุบัติเหตุทั่วไป 200,000 500,000 1,000,000 2,000,000 3,000,000
- การถูกฆาตกรรม หรือถูกทำร้าย ร่างกาย 200,000 500,000 1,000,000 1,000,000 1,000,000
- การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 100,000 250,000 500,000 1,000,000 1,500,000
- อุบัติเหตุสาธารณะ 400,000 1,000,000 2,000,000 4,000,000 6,000,000
- การนัดหยุดงาน การจลาจล การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายถึงขนาดลุกฮือต่อต้านรัฐบาล 100,000 250,000 500,000 1,000,000 1,000,000
2. ผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล ต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง 20,000 50,000 100,000 150,000 150,000
3. ผลประโยชน์การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล เนื่องมาจากอุบัติเหตุ (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน) - 500 1,000 1,500 2,000
4. ผลประโยชน์ค่าปลงศพ หรือค่าใช้จ่ายในการจัดงานศพ กรณีเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ 50,000 50,000 50,000 50,000 50,000
เบี้ยประกันภัยรายปี ชั้นอาชีพ 1, 2 750 1,600 3,000 4,400 6,100
เบี้ยประกันภัยรายปี ชั้นอาชีพ 3 750 1,600 - - -

ข้อยกเว้น

การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง 1. ความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจาก หรือสืบเนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  • 1.1 การกระทำของผู้ได้รับความคุ้มครองขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา สารเสพติด หรือยาเสพติดให้โทษ จนไม่สามารถครองสติได้ คำว่า “ขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุรา” นั้น ในกรณีที่มีการตรวจเลือดให้ถือเกณฑ์มีระดับแอลกอฮอล์ในเลือดตั้งแต่ 150 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ขึ้นไป
  • 1.2 การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
  • 1.3 การได้รับเชื้อโรค ปรสิต เว้นแต่การติดเชื้อโรค หรือบาดทะยัก หรือโรคกลัวน้ำ ซึ่งเกิดจากบาดแผลได้รับมาจากอุบัติเหตุ
  • 1.4 การรักษาทางเวชกรรมหรือศัลยกรรม เว้นแต่ที่จำเป็นจะต้องกระทำ เนื่องจากได้รับบาดเจ็บ ซึ่งได้รับความคุ้มครองภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้ และได้กระทำภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ ประกันภัย
  • 1.5 การแท้งลูก
  • 1.6 การรักษาฟันหรือการรักษารากฟัน เว้นแต่การรักษาที่ได้เกิดขึ้นภายใน 7 วันนับจากวันเกิดอุบัติเหตุ
  • 1.7 การเปลี่ยนหรือใส่ฟันปลอม การครอบฟัน ทันตกรรมประดิษฐ์
  • 1.8 อาหารเป็นพิษ
  • 1.9 การปวดหลัง อันมีสาเหตุมาจากหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท (Disc herniation) กระดูกสันหลังเคลื่อน (Spondylolisthesis) หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม (Degenerative disc disease) กระดูกสันหลังเสื่อม (Spondylosis) และภาวะที่มีรอยแตก (Defect) หรือพยาธิสภาพที่กระดูกสันหลังส่วน Pars interarticularis (Spondylolysis) เว้นแต่มีการแตกหัก (Fracture) หรือเคลื่อน (Dislocation) ของกระดูกสันหลังอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุ
  • 1.10 สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม ไม่ว่าจะได้มีการประกาศสงครามหรือไม่ก็ตาม หรือสงครามกลางเมือง การแข็งข้อ การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน การก่อความวุ่นวาย การปฏิวัติ การรัฐประหาร การประกาศกฎอัยการศึก หรือ เหตุการณ์ใดๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก
  • 1.11 การก่อการร้าย
  • 1.12 การแผ่รังสี หรือการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือจากกากนิวเคลียร์ใดๆ อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และจากกรรมวิธีใดๆ แห่งการแตกแยกตัวทางนิวเคลียร์ ซึ่งดำเนินติดต่อไปด้วยตัวเอง
  • 1.13 การระเบิดของกัมมันตภาพรังสี หรือส่วนประกอบของนิวเคลียร์ หรือวัตถุอันตรายอื่นใดที่อาจเกิดการระเบิดในกระบวนการนิวเคลียร์ได้
2. ความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นในเวลาต่อไปนี้ (เว้นแต่จะได้มีการขยายความ คุ้มครอง และมีการออกเอกสารแนบท้ายเพื่อขยายความคุ้มครองดังกล่าว)
  • 2.1 ขณะที่ผู้ได้รับความคุ้มครองแข่งรถหรือแข่งเรือทุกชนิด แข่งม้า แข่งสกีทุกชนิด รวมถึงเจ็ตสกีด้วย แข่งสเก็ต ชกมวย โดดร่ม (เว้นแต่การโดดร่มเพื่อรักษาชีวิต) ขณะกำลังขึ้นหรือกำลังลงหรือโดยสารอยู่ในบอลลูนหรือเครื่องร่อน เล่นบันจี้จั๊มพ์ ดำน้ำที่ต้องใช้ถังอากาศและเครื่องช่วยหายใจใต้น้ำ
  • 2.2 ขณะที่ผู้ได้รับความคุ้มครองกำลังขึ้นหรือกำลังลง หรือขณะโดยสารอยู่ในอากาศยานที่มิได้ จดทะเบียนเพื่อบรรทุกผู้โดยสาร และมิได้ประกอบการโดยสายการบินพาณิชย์
  • 2.3 ขณะที่ผู้ได้รับความคุ้มครองขับขี่หรือปฏิบัติหน้าที่เป็นพนักงานประจำอากาศยานใดๆ
  • 2.4 ขณะที่ผู้ได้รับความคุ้มครองเข้าร่วมทะเลาะวิวาทหรือมีส่วนยั่วยุให้เกิดการทะเลาะวิวาท
  • 2.5 ขณะที่ผู้ได้รับความคุ้มครองก่ออาชญากรรมที่มีความผิดสถานหนัก หรือขณะถูกจับกุม หรือ หลบหนีการจับกุม
  • 2.6 ขณะที่ผู้ได้รับความคุ้มครองปฏิบัติหน้าที่เป็น ทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร และเข้าปฏิบัติการ ในสงคราม หรือปราบปราม แต่หากการเข้าปฏิบัติการนั้นเกิน 30 วัน บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ระยะเวลาที่เข้าปฏิบัติการสงคราม หรือปราบปรามนั้น จนถึงวันสิ้นสุดการปฏิบัติการนั้น ส่วนหลังจากนั้นให้กรมธรรม์ประกันภัยมีผลบังคับต่อไปจนสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัยที่กำหนดไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย และ/หรือใบรับรองการประกันภัย

หมายเหตุ

  • ต้องตอบคำถามสุขภาพในใบคำขอเอาประกันภัย
  • การแถลงสุขภาพเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการพิจารณารับประกันภัย

คำเตือน

  • ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียดความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนการตัดสินใจทำประกัน ภัยทุกครั้ง
  • เงื่อนไขการรับประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
 

แผนประกัน อีซี่แคร์พลัส

ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล    

จุดเด่น

  • คุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร สูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดต่อครั้ง 50,000 บาท
  • สิทธิพิเศษ! เจ็บแค่ไหนก็ไม่ต้องสำรองจ่ายด้วย PA Platinum Card
ข้อตกลงคุ้มครอง แผนที่ 1 แผนที่ 2 แผนที่ 3 แผนที่ 4 แผนที่ 5
การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ (อบ.1) 300,000 400,000 500,000 800,000 1,000,000
การถูกฆาตกรรม หรือถูกลอบทำร้าย 150,000 200,000 250,000 400,000 500,000
การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 150,000 200,000 250,000 400,000 500,000
ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ 15,000 20,000 25,000 40,000 50,000
เบี้ยประกันภัย สำหรับอายุระหว่าง 1 เดือน - 60 ปี 1,300 1,440 1,700 1,920 2,500
 

เงื่อนไขการรับประกันภัย

  • แผนประกันภัยการเดินทางสำหรับผู้ที่มีอายุระหว่าง 1-80 ปี
  • แผนประกันภัยการเดินทางสำหรับครอบครัว คุ้มครองจำนวนสมาชิกไม่เกิน 4 ท่าน โดย จำกัดผู้เอาประกันภัยที่อายุเกินกว่า 23 ปี ไม่เกิน 2 ท่าน
  • กรณีเลือกซื้อแบบรายปี คุ้มครองระยะเวลาการเดินทางสูงสุด ไม่เกิน 90 วัน ต่อการเดินทาง แต่ละครั้ง
  • ความคุ้มครองการเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจาก อุบัติเหตุสำหรับบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี หรือสูงกว่า 75 ปี เท่ากับครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินเอาประกันภัย

หมายเหตุ

  • ผู้เอาประกันภัยมีอายุระหว่าง 4 ถึง 65 ปี
  • กรณีที่ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 4 ถึง 23 ปี สามารถทำทุนประกันภัยได้ 500,000 บาท

แผนประกัน ท็อปชิลด์

ใช้ชีวิตอย่างที่คุณต้องการ แบบมีเกราะป้องกัน  

จุดเด่น

  • คุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร สูงสุด 1 ล้านบาท
  • ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดต่อครั้ง 100,000 บาท
  • ชดเชยรายได้ระหว่างพักเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดวันละ 1,000 บาท
  • เพิ่มความทุนประกันภัยความคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร สูงสุด 25% จากทุนประกันภัยปีแรกเข้า
  • คุ้มครองสูงสุดถึงอายุ 80 ปี
  • สิทธิพิเศษ! เจ็บแค่ไหนก็ไม่ต้องสำรองจ่ายด้วย PA Platinum Card
ข้อตกลงคุ้มครอง แผนที่ 1 แผนที่ 2
การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ (อบ.1) 1,000,000 500,000
ผลประโยชน์เพิ่มเติม การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุสาธารณะ 1,000,000 500,000
ผลประโยชน์เพิ่มเติม การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงในวันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันเสาร์-อาทิตย์ 1,000,000 500,000
การถูกฆาตกรรม หรือถูกลอบทำร้าย 500,000 250,000
การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 500,000 250,000
ผลประโยชน์การชดเชยกระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และบาดเจ็บอวัยวะภายใน 20,000 10,000
ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ 100,000 50,000
การชดเชยรายได้ระหว่างการเข้ารักษาตัว ในโรงพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ ต่อวัน (สูงสุดไม่เกิน 365 วัน) 1,000 500
เบี้ยประกันภัย สำหรับอายุระหว่าง 1 เดือน - 60 ปี 3,888 2,488
เบี้ยประกันภัย สำหรับอายุระหว่าง 61 - 65 ปี 4,688 2,988
 

เงื่อนไขการรับประกันภัย

  • ผู้เอาประกันภัยมีอายุระหว่าง 1 เดือน ถึง 65 ปี และสามารถต่ออายุได้ถึง 80 ปี
  • กรณีที่ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 เดือน ถึง 23 ปี สามารถทำทุนประกันภัยได้ 500,000 บาท
  • สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีส่วนใดพิการ บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ณ วันที่ขอเอาประกันภัย

หมายเหตุ

  • ผู้เอาประกันภัยมีอายุระหว่าง 1 เดือน ถึง 65 ปี และสามารถต่ออายุได้ถึง 80 ปี
  • กรณีที่ผู้เอาประกันภัยอายุระหว่าง 1 เดือน ถึง 23 ปี สามารถทำทุนประกันภัยได้ 500,000 บาท

แผนประกัน ผู้อาวุโส

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล เพื่อพ่อแม่ที่คุณรัก

จุดเด่น

  • คุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ และทุพพลภาพถาวร สูงสุด 500,000
  • ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ สูงสุดต่อครั้ง 100,000 บาท
  • ชดเชยการกระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก สูงสุด 250,000 บาท
  • สิทธิพิเศษ! เจ็บแค่ไหนก็ไม่ต้องสำรองจ่ายด้วย PA Platinum Card
  • สามารถใช้ยื่นลดหย่อนภาษี กรณีบุตรซื้อให้บิดามารดา

เงื่อนไขการรับประกันภัย

  • ผู้เอาประกันภัยมีอายุระหว่าง 55 ถึง 75 ปี
  • สุขภาพร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีส่วนใดพิการ บาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ณ วันที่ขอเอาประกันภัย
ความคุ้มครอง PA Happy Senior 1 PA Happy Senior 2 PA Happy Senior 3
แผน 1 แผน 2 แผน 3 แผน 1 แผน 2 แผน 3 แผน 1 แผน 2 แผน 3
การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ สายตา การพูด การได้ยินเสียง หรือ ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงจากอุบัติเหตุ (อบ.2) 100,000 300,000 500,000 100,000 300,000 500,000 100,000 300,000 500,000
การถูกฆาตกรรม หรือถูกลอบทำร้าย 100,000 300,000 500,000 100,000 300,000 500,000 100,000 300,000 500,000
การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์ 100,000 100,000 100,000 100,000 100,000 100,000 100,000 100,000 100,000
ผลประโยชน์การชดเชยกระดูกแตกหัก ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และบาดเจ็บอวัยวะภายใน ไม่คุ้มครอง 30,000 90,000 150,000 50,000 150,000 250,000
ค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุ 10,000 30,000 50,000 20,000 60,000 100,000 50,000 75,000 100,000
เงินทดแทนเพิ่มเติมกรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000 30,000
เบี้ยประกันภัย 900 1,800 2,800 1,400 3,500 5,700 2,300 4,600 6,700

ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล

การประกันภัยอุบัติเหตุ เป็นการประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุได้รับความบาดเจ็บทางร่างกาย และหากผลของการบาดเจ็บนั้นส่งผลให้ผู้เอาประกันภัยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล บริษัทประกันภัยจะเข้ามารับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันภัย หรือจ่ายค่าทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยต้องสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต

การประกันภัยอุบัติเหตุมีกี่แบบ แต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

การประกันภัยอุบัติเหตุแบ่งออกเป็น 3 กรมธรรม์ ได้แก่
  • กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ใช้สำหรับการประกันภัยเฉพาะบุคคลคนเดียวเท่านั้น
  • กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุกลุ่ม ใช้สำหรับกลุ่มบุคคล ที่มีการรวมตัวกันไว้ก่อนแล้ว เช่น กลุ่มพนักงานของบิษัท หรือองค์กรต่าง ๆ
  • กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุสำหรับนักเรียน นิสิต นักศึกษา ใช้สำหรับนักเรียน นักศึกษาโดยสถาบันการศึกษาเป็นผู้จัดทำ

การประกันภัยอุบัติเหตุ (อบ.) มีแบบความคุ้มครองให้เลือกอย่างไร

สำหรับกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล และอุบัติเหตุกลุ่มเท่านั้น จะมีแบบให้เลือก 2 แบบ
  • แบบ อบ. 1 มีความคุ้มครองให้เลือกซื้อ 4 ความคุ้มครอง ได้แก่
    1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง
    2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
    3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และ
    4. การรักษาพยาบาล
     
  • แบบ อบ. 2
    1. การเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ/สายตา การรับฟังเสียง การพูดออกเสียง การทุพพลภาพถาวร
    2. การทุพพลภาพชั่วคราวสิ้นเชิง
    3. การทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และ
    4. การรักษาพยาบาล
สำหรับในกรมธรรม์ประกันภัยสำหรับนักเรียน นิสิต และนักศึกษานั้น จะมีเฉพาะแบบ อบ. 1 เท่านั้น การประกันอุบัติเหตุ โดยปกติแล้วจะให้ความคุ้มครองรวมถึงการถูกฆ่า หรือ ถูกทำร้ายร่างกายด้วย ไม่ว่าการถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายร่างกายจะเป็นโดยเจตนา หรือไม่ก็ตาม อย่างไรก็ตามหากผู้เอาประกันภัยเห็นว่าคงไม่มีความเสี่ยงภัยในการถูกฆ่า ถูกทำร้ายร่างกาย ก็สามารถที่จะไม่เอาประกันภัยในส่วนนี้ได้ โดยปู้เอาประกันภัยก็จะได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย

ข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์มีอะไรบ้าง

การประกันภัยอุบัติเหตุ จะมุ่งให้ความคุ้มครองที่เป็นความเสี่ยงภัยพื้นฐานของคนโดยทั่วไป ดังนั้นจึงมีการกำหนดข้อยกเว้นในกรมธรรม์ที่จะไม่คุ้มครองในเหตุการณ์บางอย่าง เช่น
  1. การกระทำของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ภายใต้ฤทธิ์สุราหรือยาเสพย์ติด
  2. การฆ่าตัวตาย พยายามฆ่าตัวตาย หรือการทำร้ายร่างกายตนเอง
  3. การแท้งลูก
  4. สงคราม การปฏิบัติ การกบฎ
  5. การจลาจล การนัดหยุดงาน การที่ประชาชนก่อความวุ่นวายลุกฮือต่อต้านรัฐบาล
  6. การแผ่รังสีหรือกัมมันตภาพรัลสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ อาวุธนิวเคลียร์
  7. การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย เช่น การกำน้ะ การเล่นบันจี้จั๊มพ์ เล่นสกี การแข่งรถ แข่งเรือ แข่งสเก็ต เป็นต้น
  8. ขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนตร์
  9. ขณะที่โดยสารอยู่ในเครื่องบินที่มิใช่สายการบินพาณิชย์ เช่น เฮลิคอปเตอร์
  10. ขณะที่เข้าร่วมการทะเลาะวิวาท ก่ออาชญากรรม หรือหลบหนีการจับกุม
  11. ขณะที่เข้าปราบปรามหรือปฏิบัติการทางสงครามหากผู้เอาประกันภัยเป็นทหาร ตำรวจ หรืออาสาสมัคร

ข้อยกเว้นการจ่ายผลประโยชน์เปลี่ยนเปลงได้หรือไม่

หากผู้เอาประกันภัยต้องการให้ได้รับความคุ้มครองในเหตุการณ์ที่ระบุไว้ในข้อยกเว้นก็สามารถที่จะจ่ายเบี้ยประกัน เพิ่มเติมเพื่อขอขยายความคุ้มครองได้ แต่ทั้งนี้การขอขยายความคุ้มครองนั้นสามารถทำได้เพียง 5 กรณีเท่านั้น ได้แก่
  1. การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนตร์
  2. การจลาจล การนัดหยุดงาน
  3. การสงคราม
  4. การโดยสารอากาศยานที่มิได้ประกอบการโดยสายการบินพาณิชย์
  5. การเล่นเหรือแข่งกีฬาอันตราย

ค่าเบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง

เบี้ยประกันภัยอุบัติเหตุจะขึ้นอยู่กับปัจจัยดงนี้
  • กลุ่มคน การทำประกันภัยแบบกลุ่มจะถูกกว่าการทำประกันภัยรายบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากกลุ่มคนมีจำนวนมากเบี้ยประกันภัยจะยิ่งลดลง
  • อาชีพ การแบ่งชั้นอาชีพในการรับประกันภัยจะแบ่งเป็น 4 ชั้น ได้แก่ อาชีพชั้น 1 ส่วนใหญ่ทำงานประจำในสำนักงาน อาชีพชั้น 2 ปฏิบัติงานที่ใช้วิชาชีพที่ต้องทำงานกลางแจ้งตลอดเวลา อาชีพชั้น 3 ปฏิบัติงานด้านช่าง กระบวนการผลิต ที่มีการใช้เครื่องจักรกลหนัก ผู้ใช้แรงงาน การเดินทาง หรือทำงานนอกสำนักงานเป็นประจำ อาชีพชั้น 4 อาชีพพิเศษที่มีความเสี่ยงสูงมากกว่าชั้นอื่น ๆ เป็นพิเศษ เช่น นักแสดงผาดโผน ในการแบ่งชั้นอาชีพดังที่กล่าวมาแล้ว อาชีพชั้น 1 จะเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยต่ำที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะต่ำกว่าอาชีพชั้นอื่น ๆ ในขณะที่อาชีพชั้น 4 เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงภัยสูงที่สุด เบี้ยประกันภัยก็จะสูงกว่าอาชีพอื่น ๆ
  • อายุ คนที่อายุเกินกว่า 60 ปี เบี้ยประกันภัยจะสูงกว่าคนที่อายุต่ำกว่า 60 ปี
  • ความคุ้มครองที่เลือกซื้อ ผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเฉพาะบางอย่างก็ได้ เช่น ต้องการเพียงการเสียชีวิตสูญเสียอวัยวะ และ ทพพลภาพ โดยไม่เอาความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลก็ได้ ซึ่งแน่นอนว่าเบี้ยประกันภัยก็จะแปรตามความคุ้มครองที่ต้องการ
  • ความคุ้มครองเพิ่มเติม ผู้เอาประกันภัยต้องการขยายความคุ้มครองไปถึงภัยที่มีการยกเว้นในกรมธรรม์ประกันภัย ได้แก่ การขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนตร์ การเล่นหรือแข่งกีฬาอันตราย การโดยสารเฮลิคอปเตอร์ หารจลาจล/นัดหยุดงาน สงคราม ด้วยแล้ว เบี้ยประกันภัยก็จะเพิ่มสูงขึ้น
  • จำนวนเงินเอาประกันภัยที่กำหนด เบี้ยประกันภัยจะผันแปรตามจำนวนเงินเอาประกันภัยด้วย ดังนั้น ในกรณีการซื้อผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาล ต้องกำหนด จำนวนเงินเอาประกันภัย ให้เหมาะสม หากซื้อไว้มากเกินความจำเป็นก็จะเป็นการจ่ายเบี้ยประกันภัยโดยไม่จำเป็น
  • การกำหนดจำนวนความรับผิดส่วนแรก หากผู้เอาประกันภัยยินยอมรับความเสียกายส่วนแรกเองบางส่วนในกรณีของค่ารักษาพยาบาล เบี้ยประกันก็จะต่ำลง หากผู้เอาประกันภัยยินยอมให้บริษัทงดจ่ายผลประโยชน์กรณีการทุพพลภาพชั่วคราวในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เบี้ยประกันภัยก็จะต่ำลง

หากเกิดภัยขึ้นตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ผู้เอาประกันภัยควรปฏิบัติเช่นไร จึงจะมีสิทธิ์ในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

เมื่อผู้เอาประกันภัยประสบอุบัติเหตุต้องแจ้งให้บริษัทประกันภัยทราบโดยทันที และนำหลักฐานอาทิเช่น ใบเสร็จแสดงรายการค่ารักษาพยาบาล รายงานของแพทย์ ใบแจ้งความ ใบมรณะบัติ เป็นต้น ส่งมอบให้บริษัทประกันภัย